มีเพื่อนร่วมงานช่างเม้าท์เราจะทำอย่างไรดี

ที่ใดที่มีมนุษย์อยู่รวมกันมักมีเรื่องเม้าท์ ขอแยกเป็น 2 กรณี นะคะ หากเราเป็นคนที่ถูกเพื่อน
เม้าท ์ ลองแยกแยะก่อนว่ามันสามารถเป็น Feedback ให้เราพัฒนา เช่น "นี่เธอ..วันก่อนที่ยาย
แต้วพรีเซ้นท์งาน ฉันบอกตรงๆ นะว่ามั่วมาก ตัวเลขข้อมูลนั่งเทียนเอาเองทั้งนั้น ฉันมีตัวเลขอยู่
ในมือ แต่หล่อนไม่เคยมาขอไปอ้างอิงเลย แล้วเจ้านายยังไปเห็นดีเห็นงามกับหล่อนอีก.." แปล
ว่าครั้งหน้าในการนำเสนอเราควรใส่ที่มาที่ไปหรือแหล่งอ้างอิงของข้อมูลที่เรานำเสนอ แต่หาก
เรื่องที่เขาเม้าท์นั้นไม่สร้างประโยชน์อะไรเลย ให้ถือคติว่า "อย่าเก็บเอาทุก คำพูด และ การกระ
ทำ ของคนอื่นมาคิด เพราะจะทำให้ความสุขในการใช้ชีวิตลดลง" คำเม้าท์เหล่านั้นในทาง
วิทยาศาสตร์เขาบอกว่ามันเป็นเพียงคลื่นเสียงที่มากระทบหูของเราเท่านั้น เตือนตัวเองว่า "ฉัน
มาเพื่อทำงาน เพื่อเป้าหมายที่ฉันต้องการ" แล้วตั้งใจทำงานของเราต่อไปเถอะค่ะ


หากเราเป็นคนที่ต้องตกอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีการเม้าท์ โปรดแสดงตนให้ขาเม้าท์รู้ว่าเราไม่
ต้องการเป็นส่วนหนึ่ง ชวนเขาเปลี่ยนเรื่องคุย หรือเดินออกมาดีกว่า แต่หากบังเอิญโต๊ะทำงาน
เรานั่งติดกับขาเม้าท์แล้ว อันนี้ต้องบริหารจัดการให้ดี เพราะเราอาจรำคาญใจที่ต้องได้ยิน หรือ
อีกทางคือเผลอใจเข้าไปร่วมวงเม้าท์ได้ ให้เลือกวิธีหยิบหูฟังมาเสียบหูไว้ทุกครั้งที่มีการเม้าท์
เกิดขึ้นเพื่อสื่อว่าฉันไม่ได้สนใจฟังเธอ ทางจิตวิทยาบอกว่าหากไม่มีคนฟัง ขาเม้าท์ก็จะหยุดไป
เองค่ะ แต่หากมีคนรอบๆ ข้างร่วมวงเม้าท์กันเสียงดังมาเข้าหูจนได้ ก็เปิดเพลงใส่หูฟังไปดังๆ
เพื่อลดมลพิษทางเสียง สุดท้ายหากพวกเขาเม้าท์มากเกินไปจนเป็นอุปสรรคในการทำงานของ
เรา ก็ควรพูดคุยกันตรงๆ จะดีกว่าค่ะ ไม่งั้นมีแนวโน้มว่าเราเองก็จะเอาเรื่องเพื่อนช่างเม้าท์คนนี้
ไปเม้าท์ให้เพื่อนสนิทหรือแฟนของเราฟังต่อ ซึ่งนั่นก็ทำให้คุณกลายเป็นคนช่างเม้าท์เช่น
เดียวกันนะจ๊ะ


อ. กรรณิการ์ สิทธิชัย
Consulting Partner
บริษัท ออคิด สลิงชอท จำกัด